วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต

การสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต

การสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตสามารถทำได้หลายทางด้วยกัน ดังนี้
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
เป็นการสื่อสารที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะอยู่ในที่ทำงานเดียวกันหรืออยู่ห่างกันคนละมุมโลกก็ตาม นอกจากนี้ยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยมากเพียงเท่ากับค่าโทรศัพท์เท่านั้น
การสืบค้นข้อมูลแบบเครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web: www.)
เป็นการสื่อสารที่เติบโตรวดเร็วที่สุดในอินเตอร์เน็ต ด้วยเหตุผลที่สำคัญคือง่ายต่อการใช้งานและสามารถนำเสนอข้อมูลแบบกราฟิกได้ การใช้ World Wide Web เปรียบเสมือนการเข้าไปอ่านหนังสือในห้องสมุด โดยหนังสือที่มีให้อ่านจะสมบูรณ์มากกว่าหนังสือทั่วไป เพราะสามารถฟังเสียงและดูภาพเคลื่อนไหวประกอบได้ นอกจากนี้ยังสามารถโต้ตอบกับผู้อ่านได้ด้วย ข้อมูลต่างๆ จะมีการเชื่อมโยงถึงกันได้ด้วยคุณสมบัติของ Hypertext Link
การที่จะเข้าไปอ่านข้อมูลเหล่านี้ได้ ผู้ใช้จะต้องมี Web Browser ซึ่งนิยมใช้กันในขณะนี้ได้แก่ Netscape Navigator และ Internet Explorer ปัจจุบันได้มีการประยุกต์กิจกรรมอื่นไว้ภายใน World Wide Web ด้วย อาทิ การโฆษณากิจกรรม รวมถึงความบันเทิงต่างๆ เช่น การดูหนังฟังเพลง และชมรายการต่างๆ ทางสถานีโทรทัศน์
3. การโอนย้ายข้อมูล (File Transfer Protocol: FTP)
เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้กันมากพอสมควรในอินเตอร์เน็ต โดยอาจใช้เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลรวมถึงโปรแกรมต่างๆ จากแหล่งข้อมูลทั้งหลายมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้งานอยู่ ปัจจุบันมีหน่วยงานหลายแห่งที่กำหนดให้ Server ของตนทำหน้าที่เป็น FTP Site เก็บรวบรวมข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ สำหรับให้บริการ การเข้าไปขอถ่ายโอนข้อมูลนั้น ผู้ใช้ต้องทราบชื่อเครื่องที่ตั้งเป็น FTP Server และสิทธิที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำ FTP
4. การแลกเปลี่ยนข่าวสาร (Usenet)
มีที่มาจากกระดานประกาศข่าว หรือ Bulletin Board กล่าวคือ ผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน จะรวมกลุ่มกันตั้งเป็นกลุ่มข่าวของแต่ละประเภท เมื่อมีข้อมูลใหม่ที่จะเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกผู้อื่น หรือมีปัญหาหรือคำถามที่ต้องการความช่วยเหลือหรือคำตอบ ผู้นั้นก็จะส่งข้อมูลของตนเข้าไปติดประกาศไว้ในอินเตอร์เน็ต โดยเครื่องที่ทำหน้าที่ติดประกาศคือ News Server เมื่อสมาชิกอื่นอ่านพบ ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมหรือมีบางอย่างไม่ถูกต้อง หรือมีคำตอบที่จะช่วยแก้ปัญหาให้ได้ สมาชิกเหล่านั้นก็จะส่งข้อมูลตอบกลับไปติดประกาศไว้เช่นกัน
5. การเข้าใช้เครื่องระยะไกล Telenet
เป็นการขอเข้าไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตจากระยะไกล โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปนั่งอยู่หน้าเครื่องนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้อาจอยู่ภายในสถานที่เดียวกับผู้ใช้ หรืออยู่ห่างกันคนละทวีปก็ได้ แต่ทั้งนี้ผู้ใช้ต้องมี account และรหัสผ่านจึงจะสามารถเข้าใช้เครื่องดังกล่าวได้ ส่วนคำสั่งในการทำงานนั้นขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการของเครื่องที่เข้าไปขอใช้
6. การสนทนาผ่านเครือข่าย หรือ Chat)
เป็นการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง คือ สามารถสื่อสารโต้ตอบกันได้ทันทีเหมือนการใช้โทรศัพท์ สามารถทำได้ทั้งแบบ Text-based และ Voice-based โปรแกรมที่นิยมใช้คือ Talk ซึ่งเป็นการพิมพ์โต้ตอบระหว่างคนสองคน Internet phone เป็นการคุยกันด้วยเสียงแบบเดียวกับโทรศัพท์ และ IRC (Internet Relay Chat)
7. บริการส่งข้อความทางอินเตอร์เน็ต
เป็นการส่งข้อความในรูปแบบของข้อความสั้นๆ (Short Message) ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตให้ส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์สื่อสารประเภทไร้สาย ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือเพจเจอร์ เป็นต้น
8. Remote Login
เป็นบริการที่ผู้ใช้สามารถติดต่อผ่าน Telenetเข้ากับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล และคอมพิวเตอร์นั้นค้นหาสารสนเทศ แหล่งบริการสารสนเทศ เช่น รายการบัตรของห้องสมุด (Online Public Access Catalog: OPAC) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดแต่ละแห่งทั่วโลกจัดทำขึ้น และเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย

ระบบสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ตอนที่ 1
ประมวลความรู้เกี่ยวกับระบบสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

บทบาทของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การติดต่อสื่อสารข้อมูลในปัจจุบันมีรากฐานมาจากความพยายามในการเชื่อมต่อ ระหว่าง
คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันโดยอาศัยระบบการสื่อสาร ต่อมาเมื่อมีการใช้
คอมพิวเตอร์มากขึ้น
จึงมีความต้องการที่จะติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์หลายเครื่องในเวลาเดียวกัน
ที่เรียกว่า ระบบเครือข่าย
(Network System)
ซึ่งได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นเป็นลำดับ

ระบบเครือข่าย

ตอนต้นของยุคสื่อสารเมื่อประมาณ พ.ศ. 2513-2514 ความต้องการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกัน
มีมากขึ้น แต่คอมพิวเตอร์ยังมีราคาสูงมากเมื่อเทียบกับอุปกรณ์สื่อสารที่มีอยู่แล้ว
การสื่อสารด้วยระบบเครือข่าย
ในระยะนั้นจึงเน้นการใช้คอมพิวเตอร์ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์เป็นผู้ให้
บริการแก่ผู้ใช้ปลายทางหลายคน เพื่อประหยัด
ค่าใช้จ่ายของระบบ
ต่อมาเมื่อถึงยุคของไมโครคอมพิวเตอร์พบว่า ขีดความสามารถในด้านความเร็วของการทำงาน
ของเครื่องแบบเมนเฟรมมีความเร็วมากกว่า 10 เท่า เมื่อเทียบกับไมโครคอมพิวเตอร์
ตัวที่ดีที่สุด แต่ราคาของ
เมนเฟรมแพงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์มาก ดังนั้นการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์
จึงมีการพัฒนาด้านประสิทธิภาพ
และได้แพร่หลายออกไป การสื่อสารจึงกลายเป็นระบบเครือข่ายแบบ
กระจาย กล่าวคือ แทนที่จะออกแบบให้เครื่อง
คอมพิวเตอร์ปลายทางต่อกับเมนเฟรม ก็เปลี่ยนมาเป็น
ระบบเครือข่ายที่ใช้คอมพิวเตอร์ต่อกับคอมพิวเตอร์แทน
ลักษณะของเครือข่ายจึงเริ่มจากจุดเล็ก ๆ ที่ค่อยๆ ขยายวงกว้างออกไป อาจจะอยู่บนแผงวงจร
อิเล็กทรอนิกส์เดียวกัน
ขยายตัวใหญ่ขึ้นเป็นระบบที่ทำงานร่วมกันในห้องทำงาน ในตึก ระหว่างตึก ระหว่างสถาบัน
ระหว่าง
เมือง ระหว่างประเทศ การจัดแบ่งรูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จึงแยกตามขนาดของเครือข่ายข้อมูล
ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่เก็บในคอมพิวเตอร์ สามารถส่งต่อ คัดลอก จัดพิมพ์ ทำสำเนาได้ง่าย เมื่อเทียบ
กับการคัดลอกด้วยมือซึ่งต้องใช้เวลามากและเสี่ยงต่อการทำข้อมูลผิดพลาดอีกด้วย

วิธีการทางด้านการสื่อสารข้อมูล กำลังได้รับการนำมาประยุกต์ใช้ในระบบสำนักงาน
ที่เรียกว่า
ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System) ซึ่งเป็นระบบที่มีบุคคล
น้อยที่สุด โดยอาศัย
เครื่องมือแบบอัตโนมัติและระบบสื่อสาร เชื่อมโยงข่าวสารระหว่างเครื่องมือเข้า
ด้วยกัน ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
หรือ OAS มีจุดมุ่งหมายให้เป็นระบบที่ไม่ใช้กระดาษ จะส่งข่าวสาร
ถึงกันด้วยข้อมูลทาง อิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Data Interchange) ซึ่งมีรูปแบบในการใช้งานใน
2 ลักษณะคือ
1. รูปแบบของระบบงานพิมพ์และการประมวลผลทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่การสื่อสาร

ด้วยข้อความ รูปภาพ E-mail FAX หรือเสียง เป็นต้น

2. รูปแบบการประชุมทางไกลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การประชุมทางไกลแบบ
มีแต่เสียง
(Audio Conferencing) การประชุมทางไกล แบบมีทั้งภาพและเสียง
(Video-Conferencing) เป็นต้น

สำนักงานอัตโนมัติ

สำนักงานที่จัดว่าเป็นสำนักงานอัตโนมัติประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ คือ

1. Networking System คือ ระบบข่ายงานที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ระหว่างกันทั่วองค์กร

2. Electronic Data Interchange คือ การสื่อสารข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยอาศัยสัญญาณ
ข้อมูลข่าวสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบข่ายงาน

3. Internet Working คือ การรวมตัวกันของระบบข่ายงานที่กระจายอยู่ทั่วโลก จนกลายเป็น
เครือข่ายขนาดใหญ่

4. Paperless System คือระบบที่ไม่ใช้กระดาษ บทบาทที่สำคัญอีกบทบาทหนึ่งคือการให้บริการข้อมูล
ในหลายประเทศได้จัดให้มีฐานข้อมูลไว้บริการ เช่น ฐานข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ฐานข้อมูล
งานวิจัย ฐานข้อมูล
ทางเศรษฐกิจ ฐานข้อมูลสินค้า เครื่องอุปโภคบริโภค ในมหาวิทยาลัยอาจมี
ข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือ ตำราวิชาการ
หากผู้ใช้ต้องการข้อมูลใดก็สามารถติดต่อมายังศูนย์
บริการข้อมูลนั้น การติดต่อจะผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ทำให้การได้ข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว


ตอนที่ 1
ระบบสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์


ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล

ในปัจจุบันความสำคัญของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่คำนึงถึงอย่างมาก
ด้วยเหตุว่าการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์หลายประการด้วยกัน
คือ

1. จัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์
สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึก (Diskette) ที่มีความหนาแน่นสูงได้ แผ่นบันทึก
แผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูล
ได้มากกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้นถ้าข้อมูล
ผ่านสายโทรศัพท์ด้วยอัตรา 120 ตัวอักษร
ต่อวินาที จะสามารถส่งข้อมูล 200 หน้า ได้ในเวลา
40 นาที โดยที่ไม่ต้องเสียเวลามานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้น
ซ้ำใหม่อีก

2. มีความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติมีการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์ จากจุดหนึ่งไปยัง
จุดอื่นด้วยระบบดิจิทัล วิธีการรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูล หากข้อมูล
ผิดพลาด ก็จะมีการรับรู้
และพยายามหาวิธีการแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้องโดยอาจ
ทำการส่งใหม่ หรือกรณีผิดพลาดไม่มาก
ผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนเองแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้

3. มีความรวดเร็วในการทำงาน สัญญาณทางไฟฟ้าเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์
ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง หรือการค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูล
ขนาดใหญ่สามารถทำได้
อย่างรวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบจะทำให้ผู้ใช้สะดวกสบาย เช่น บริษัท
สายการบินทุกแห่งสามารถทราบ
ข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของ
สายการบินสามารถทำได้ทันที

4. ประหยัดต้นทุน การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่อเข้าหากันเป็นเครือข่ายเพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูล โปรแกรมการ
ทำงานจะทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลไม่แพง เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น

ตอนที่ 1
ระบบสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์


มาตรฐานสำหรับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การทำงานในสำนักงานจำเป็นต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โต๊ะทำงานแต่ละตัวจะเป็น
เสมือนจุดหนึ่งของการประมวลผล การวิเคราะห์ การแยกแยะข้อมูลและส่งให้โต๊ะอื่นๆ หรือ
หน่วยอื่น ๆ ต่อไป
การเชื่อมโยงเครือข่ายทำให้เกิดเป็นระบบแห่งการประมวลผล หรือทำให้
คอมพิวเตอร์หลาย ๆ ระบบเชื่อมเข้า
ด้วยกัน ระบบสำนักงานอัตโนมัติจึงเป็นเรื่องของการประมวลผล
ในจุดต่าง ๆ แล้วส่งข้อมูลถึงกันผ่านทาง
เครือข่ายคอมพิวเตอร์

เหตุผลของการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าหากัน เนื่องจากราคาของคอมพิวเตอร์ถูกลง
และมีความต้องการเพิ่มขีดความสามารถของระบบโดยรวม เพราะอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
เพียงอย่างเดียวก็
ทำงานได้ในตัวเองอย่างหนึ่ง แต่เมื่อรวมกันจะทำงานได้เพิ่มขึ้นและสามารถใช้
ทรัพยากรร่วมกันและแลกเปลี่ยน
ข้อมูลระหว่างกันได้

การส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย จำเป็นต้องมีมาตรฐานกลางที่ทำให้คอมพิวเตอร์
และอุปกรณ์ต่างรุ่น ต่างยี่ห้อ ทุกเครื่องหรือทุกระบบสามารถเชื่อมโยงกันได้ ในระบบ
เครือข่าย จะมีการดำเนิน
งานพื้นฐานต่าง ๆ กัน เช่น การรับส่งข้อมูล การเข้าใช้งานเครือข่าย
การพิมพ์งานโดยใช้อุปกรณ์ของเครือข่าย
เป็นต้น

องค์กรว่าด้วยเรื่องมาตรฐานระหว่างประเทศ จึงได้กำหนด มาตรฐานการจัดระบบการเชื่อมต่อ
สื่อสารเปิด (Open Systems Interconnection : OSI)
ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้ในการรับส่งข้อมูล
ระหว่าง 2 ปลายทางใด ๆ บนเครือข่ายระบบสื่อสาร มีการแบ่งออกเป็นระดับ
(Layer) ได้ 7 ระดับ โดยแต่
ละระดับจะมีการกำหนดมาตรฐานในการติดต่อเป็นของตัวเอง และ
ระดับหนึ่งจะติดต่อกับระดับที่เท่ากัน
ของอีกปลายหนึ่ง ระดับที่สูงกว่าจะสั่งงานและรับข้อมูลที่
ประมวลผลแล้วจากระดับที่ต่ำกว่า โดยไม่จำเป็น
ต้องทราบรายละเอียดของระดับที่ต่ำกว่า

การสื่อสารในระดับต่าง ๆ จะอาศัยการควบคุมเพื่อให้ระบบการทำงานนั้นเป็นไปอย่างถูกต้อง
มีมาตรฐานโดยการสื่อสารข้อมูลแบบแพ็กเก็ต จะเกี่ยวพันกับ 3 ระดับล่าง ซึ่งได้แก่

1. ระดับฟิสิคัล (Physical Layer) เป็นระดับที่เกี่ยวข้องกับการรับข้อมูลเป็นบิต ซึ่งเกี่ยวข้องกับระดับ
แรงดันไฟฟ้าช่วงความถี่ คาบเวลา

2. ระดับดาต้าลิงค์ (Data Link Layer) เป็นระดับที่ทำการแปลงการรับส่งข้อมูล ที่มีความไม่แน่นอน
ให้แน่นอนขึ้น โดยการจัดรูปแบบข้อมูลเป็นบล็อก เช่น เฟรม (Frame) พร้อมทั้งมี
การตรวจสอบข้อผิดพลาด
3. ระดับเนตเวอร์ค (Network Layer) ทำการส่งข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเข้าไปในเนตเวอร์ค แพ็กเก็ต
ก็อาจเดินทางไปอย่างอิสระ โดยมีการจ่าหน้าแอดเดรสของผู้รับและผู้ส่งวิธีนี้เรียกว่า Datagrame

ปัจจุบันมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนมากทั่วโลก แต่ละคนก็ใช้คอมพิวเตอร์ต่างแบบต่างรุ่นกัน
ดังนั้นการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องอาศัยภาษากลางที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้ากันกันได้
ซึ่งภาษากลางนี้มีชื่อทางเทคนิคว่า "โปรโตคอล" (Protocol) สำหรับโปรโตคอลมาตรฐานที่ใช้ใน
การสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตมีชื่อเรียกว่า TCP/IP ซึ่งได้แพร่หลายไปทั่วโลกพร้อมๆ กับเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต และเป็นโปรโตคอลที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน

การทำงานของโปรโตคอล TCP/IP จะแบ่งข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่งไปยังเครื่องอื่นไปส่วนย่อยๆ
(เรียกว่า แพ็คเก็ต : packet) และส่งไปตามเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยการกระจาย
แพ็กเก็ตเหล่านั้นไป
หลายทาง โดยในแต่ละเส้นทางจะไปรวมกันที่จุดปลายทาง และถูกนำมารวมกัน
เป็นข้อมูลที่สมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง

รูปแบบการทำงานของโปรโตคอล TCP/IP ที่มีการแบ่งข้อมูลและจัดส่งเป็นส่วนย่อย จะสามารถช่วย
ป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในการติดต่อสื่อสารได้ เพราะถ้าข้อมูลเกิด
สูญหายก็จะเกิดเป็นเพียงบางส่วน
เท่านั้นมิใช่หายไปทั้งหมด ซึ่งคอมพิวเตอร์ปลายทางสามารถ
ตรวจหาข้อมูลที่สูญหายไปได้ และติดต่อให้
คอมพิวเตอร์ต้นทางส่งเพียงเฉพาะข้อมูลที่หายไปมาใหม่
อีกครั้งได้

โปรโตคอล TCP/IP ถูกคิดค้นโดยรัฐบาลสหรัฐและถูกนำมาใช้กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพี่อป้องกัน
ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ในกรณีที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ใหญ่ในรัฐใดรัฐหนึ่ง
ถูกโจมตีจนได้รับความ
เสียหาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนที่เหลือก็ยังสามารถติดต่อถึงกันได้อยู่
เพราะข้อมูลจะถูกโอนย้ายไปตามเส้น
ทางอื่นในเครือข่ายแทน

ตอนที่ 1
ระบบสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ความหมายของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถูกนำ
มาเชื่อมต่อกันผ่านอุปกรณ์ด้านการสื่อสารหรือสื่ออื่นใด
ทำให้ผู้ใช้ในระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและใช้
อุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครือข่าย
ร่วมกันได้

การที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีบทบาท และความสำคัญเพิ่มขึ้นเพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งาน
อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเข้าด้วยกัน
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบ
ให้สูงขึ้นเพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง
เครือข่ายมีตั้งแต่ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์
เพียงสองสามเครื่องเพื่อใช้งานในบ้าน
หรือในบริษัทเล็กๆ ไปจนถึงเครือข่ายระดับโลกที่ครอบคลุมไปเกือบทุกประเทศ
เครือข่ายสามารถ
เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมากทั่วโลกเข้าด้วยกัน เราเรียกว่า เครือข่ายอินเทอร์เน็ต